21 ตุลา วันทันตสาธารณสุข

21 ต.ค.กำเนิด ‘วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ’
แวะมาตรวจสุขภาพฟันฟรีที่ คลินิกทันตกรรม เดอะฟันรูม
ได้ตั้งแต่ 10.00 – 20.00 น. นะคะ
—————————————
👨‍⚕️ ปรึกษาทันตแพทย์ ฟรี
FB: thefunroomdc
IG: thefunroomdc
LINE: @thefunroomdc
Tel: 099-154-5263

คลินิกทันตกรรม เดอะฟันรูม
🕙 10.00 – 20.00 น.
📍123/39 ถ.ฉลองกรุง แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
.
#thefunroom#จัดฟัน#อุดฟัน#ถอนฟัน#วันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ

แบ่งปันบทความนี้ :

5 ปัญหาสุขภาพฟัน

หนุ่มสาวออฟฟิศที่กำลังเพลิดเพลินกับชา กาแฟ ผ่อนคลายจากงานด้วยการสูบบุหรี่ฟังทางนี้ค่ะ พฤติกรรมเหล่านี้กำลังส่งผลกับสุขภาพฟันของเราไม่ว่าจะเป็นคราบเหลืองที่ติดฟัน สาเหตุของฟันผุ สารพัดปัญหาที่กำลังจะเกิดหรือบางคนนั้นสายเกินไปแล้วที่จะแก้ก็อย่าลืมไปพบคุณหมอกันนะคะ สาวนใครที่ยังไหวตัวทันนั้น วันนี้แอดมินมีวิธีการดูแลสุขภาพฟันมาแชร์ให้อ่านกันนะคะ

ปัญหาฟันเหลืองจากคราบบุหรี่ ชา กาแฟ
สามารถป้องกันได้ด้วยการลดการสูบบุหรี่ และดี่มเครื่องดื่มเหล่านี้ให้ลดลง ร่วมกับการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันบ่อยๆ หลังสูบบุหรี่ กรณีที่เครื่องดื่มมีรสหวานดื่มน้ำเปล่าตามเพื่อลดความหวานในช่องปากและรออย่างน้อย 30 นาทีค่อยแปรงฟัน กรณีที่มีคราบสีติดแน่นควรพบทันตแพทย์เพื่อขัดฟันทำความสะอาดเพื่อขจัดคราบสีเหล่านี้ให้ออกไปได้มากกว่าการแปรงฟัน

ปัญหาฟันผุ
มักเกิดจากการละเลยการแปรงฟันและแปรงฟันไม่ทั่วถึงทุกบริเวณ รวมทั้งไม่ใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดฟันผุตามร่องฟันบนด้านบดเคี้ยวและตามซอกฟันได้ง่าย ควรแก้ไขด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ หลีกเลี่ยงอาหาร ผลไม้ หรือขนมขบเคี้ยวที่มีรสหวานจัด เปรี้ยวจัด เหนียวติดฟัน น้ำอัดลม โซดา รวมทั้งอาหารที่ประกอบด้วยแป้งและน้ำตาลในปริมาณสูง เป็นต้น เพราะอาหารเหล่านี้เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วถูกย่อยในช่องปากจะเปลี่ยนสภาพเป็นกรดได้อย่างรวดเร็ว มีฤทธิ์กัดกร่อนเคลือบฟัน ทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย การแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมฟลูออไรด์จะช่วยลดการเกิดฟันผุลงได้

ปัญหากลิ่นปาก
เกิดได้จากหลายสาเหตุอาจจะมีสาเหตุมาจากในช่องปากอย่างเดียวหรือมาจากอวัยวะในระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารได้เช่นกัน ถ้าแก้ไขสาเหตุจากในช่องปากเรียบร้อยแล้วยังมีกลิ่นปากอยู่อีก ก็ต้องไปปรึกษาแพทย์ใน 2 ระบบข้างต้นด้วย สำหรับกลิ่นปากที่มีสาเหตุจากการในช่องปาก เกิดได้จากฟันผุ ฟันคุด และเหงือกอักเสบ ควรแก้ไขโดยการกำจัดสาเหตุดังกล่าว และป้องกันด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เช้า เย็นและหลังอาหารทุกมื้อ

ปัญหาฟันแตกหัก
เกิดได้จากหลายสาเหตุเช่นกัน เช่น การใช้ฟันผิดประเภท ใช้ฟันกัดแทะอาหารที่แข็งเกินไปบ่อยๆและต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน การบดเคี้ยวฟันขณะเครียดหรือเวลานอน ต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยทันตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และอุบัติเหตุที่บริเวณใบหน้าและขากรรไกร ควรเดิน วิ่ง เล่นอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุบริเวณใบหน้าและขากรรไกร หากเกิดการแตกหักหรือบิ่นของฟันแล้วในบางเคสที่แตกไม่มาก ทันตแพทย์สามารถบูรณะฟันนั้นให้กลับมาอยู่ในสภาพปกติได้

ปัญหาคราบหินปูนและเหงือกอักเสบ
เกิดจากการดูแลสุขภาพในช่องปากไม่ดีพอ จึงเกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ตามบริเวณขอบเหงือกและซอกฟัน เมื่อแปรงฟันไม่ทั่วถึงก็จะเกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์มากขึ้นและเป็นเวลานานขึ้นจนกลายเป็นคราบหินปูน ภายในคราบจุลินทรีย์และหินปูนนั้นจะมีแบคทีเรียอาศัยอยู่ เมื่อแบคทีเรียได้รับอาหารจากที่เรารับประทานเข้าไปก็จะสร้างกรดขึ้นมารอบๆ บริเวณนั้น ทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกและเนื้อเยื่อปริทันต์ที่อยู่รอบๆ สามารถรักษาได้ด้วยการขูดหินปูน เกลารากฟัน หรือผ่าตัดสร้างเนื้อเยื่อปริทันต์ขึ้นมาใหม่

ใครที่ละเลยการดูแลฟันไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ ลองเข้ามาปรึกษาและตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์ที่คลินิกทันตกรรม เดอะฟันรูม ได้ทุกวันเลยนะคะ

—————————————
👨‍⚕️ ปรึกษาทันตแพทย์ ฟรี
FB: thefunroomdc
IG: thefunroomdc
LINE: @thefunroomdc
Tel: 099-154-5263

คลินิกทันตกรรม เดอะฟันรูม
🕙 10.00 – 20.00 น.
📍123/39 ถ.ฉลองกรุง แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
.
#thefunroom#จัดฟัน#อุดฟัน#ถอนฟัน#ปัญหาฟันเหลือง

แบ่งปันบทความนี้ :

ข้อแนะนำหลังฟันคุด

ฟันคุดหรือเรียกอีกชื่อว่า “ฟันกรามซี่ที่สาม” เป็นฟันชุดสุดท้ายของฟันกรามที่งอกออกมา ผู้คนจำนวนมากเลือกที่จะถอนฟันคุดออกเพราะว่าฟันคุดไม่ได้มีประโยชน์แต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้นฟันคุดอาจก่อให้เกิดอันตรายกับช่องปากของเราได้เนื่องจากลักษณะการงอกที่มักไม่ขึ้นตรงเหมือนฟันซี่อื่น ๆ และมักจะไปเบียดฟันที่อยู่ด้านข้างได้ ปกติแล้วฟันคุดจะขึ้นมาในช่วงที่อายุ 18 – 25 ปี เหตุเพราะพื้นที่เหงือกในปากของเราไม่เพียงพอให้ฟันคุดขึ้นมาเพิ่มจากฟันแท้ซี่อื่น ๆ ดังนั้นฟันคุดจึงขึ้นในลักษณะเอียงหรือเฉ และอาจทำให้เกิดฟันซ้อนได้ บางครั้งฟันคุดก็งอกออกมาไม่เต็มที่ ลักษณะนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาในช่องปากได้ในอนาคตได้ เช่น ติดเชื้อที่เหงือกบริเวณฟันคุด หรือเกิดการปวดฟัน

อาการหลังจากถอนฟันคุด
อาจมีอาการบวมหรือปวดที่เหงือกบริเวณที่ถูกถอน บางครั้งอาจมีเลือดออกมามากหลังจากผ่าเสร็จใหม่ ๆ ทันตแพทย์จะให้กัดผ้าก๊อซไว้เพื่อห้ามเลือด ขณะที่ช่องปากกำลังฟื้นคืนสภาพ ต้องระวังอย่าให้มีลิ่มเลือดไหลออกมา และพยายามอย่าทำอะไรที่เป็นกระทบกระเทือนเหงือกในช่วงนี้ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ โซดา หรือของร้อน ควรรับประทานอาหารอ่อนในช่วง 2 -3 วันแรกหลังผ่าฟันคุด รวมถึงไม่ควรแปรงฟันในวันแรกหลังผ่าเพราะช่องปากจำเป็นต้องควบคุมไม่ให้เลือดไหลออกมามาก ระยะเวลาฟื้นตัวหลังผ่าฟันคุดทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 3 – 4 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์

ข้อแนะนำหลังผ่าฟันคุด
-นอนโดยที่ยกศีรษะสูงขึ้นมาเล็กน้อยประมาณ 2 – 3 วัน
-ทำกิจกรรมที่มีการกระทบกระเทือนน้อยลง
-ให้ระมัดระวังไม่ให้มีลิ่มเลือดออกมาจากบริเวณฟันที่ถอนออกไปเป็นระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์
-สำหรับอาการปวด ปกติแล้วทันตแพทย์จะให้ยาแก้ปวดมาเพื่อช่วยบรรเทาหลังยาชาหมดฤทธิ์ หรือถ้าปากของคุณบวมมากก็ให้ใช้ถุงน้ำแข็งประคบข้างแก้มได้ เพื่อลดอาการปวดและบวมจากการอักเสบ

วิธีการดูแลช่องปากของคุณในช่วงนี้
-อาจต้องหลีกเลี่ยงการแปรงฟัน บ้วนน้ำลาย ขัดฟัน หรือใช้น้ำยาบ้วนปากเป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นคุณสามารถแปรงฟันเบา ๆ ได้โดยที่ไม่ให้โดนบริเวณที่ถอนฟัน
-การใช้น้ำเกลืออุ่นบ้วนปากในระยะนี้จะช่วยทำให้ช่องปากของคุณสะอาดและลดอาการติดเชื้อได้
-พยายามรับประทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้มหรือน้ำซุปไปก่อน จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มอาหารที่มีลักษณะแข็งหลังผ่านไป 2 – 3 วันหรือเมื่อคุณแน่ใจว่าช่องปากของคุณเริ่มมีสภาพดีขึ้น
-หากสังเกตเห็นว่ามีหนองออกมา หรือมีอาการปวดรุนแรง และมีไข้ ให้ไปพบทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ช่องปากทันที เนื่องจากอาจมีการติดเชื้อเพิ่มได้

สำหรับใครที่มีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ สามารถขอคำแนะนำจากทันตแพทย์ที่ คลินิกทันตกรรม เดอะฟันรูม ได้ทุกวันเลยนะคะ

—————————————
👨‍⚕️ ปรึกษาทันตแพทย์ ฟรี
FB: thefunroomdc
IG: thefunroomdc
LINE: @thefunroomdc
Tel: 099-154-5263

คลินิกทันตกรรม เดอะฟันรูม
🕙 10.00 – 20.00 น.
📍123/39 ถ.ฉลองกรุง แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
.
#thefunroom#จัดฟัน#อุดฟัน#ถอนฟัน#ฟันคุด

แบ่งปันบทความนี้ :

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save